ค่า Royalty Fee คืออะไร? ทำไมแฟรนไชส์ต้องมีค่า Royalty Fee

สิ่งที่ทางแฟรนไชส์ซอร์ต้องเก็บจากแฟรนไชส์ซีนอกจากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงค่าใช่จ่ายเกี่ยวเนื่องในเรื่องการต่ออายุสัญญาแฟรนไชส์ ก็คือค่าสิทธิ (Royalty Fee)โดยบทความนี้จะเสนอให้เห็นว่าทำไม ทางเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องเรียกเก็บค่า Royalty Fee จากแฟรนไชส์ซี รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ต่อเนื่องจนกว่าสัญญาแฟรนไชส์จะสิ้นสุด

ค่าใช้จ่ายที่แฟรนไชส์ซี ต้องจ่ายต่อเนื่อง

   ค่าใช้จ่ายต่อเนื่องนั้นมีหลายอย่าง เช่น ค่าเช่ารายเดือน ค่าสินค้าที่ต้องสั่งซื้อเพิ่มเป็นประจำ ค่าเงินเดือนลูกน้อง ค่านํ้าไฟ โทรศัพท์ ฯลฯ ที่จริงแล้วค่าใช้จ่ายพวกนี้ต้องจ่ายอยู่แล้วไม่ว่าจะอยู่เป็นระบบแฟรนไชส์หรือ ธุรกิจทั่วไป

แต่หัวใจสำคัญของระบบแฟรนไชส์จริงๆคือ “ค่าสิทธิ” (Royalty) และ “ค่าการตลาด” (Marketing Fee/ Advertising Fee) ค่าใช้จ่าย 2 อย่างนี้ เท่าที่เห็นส่วนใหญ่จะเก็บกันเป็นรายเดือน แต่ก็มีรูปแบบที่แตกต่างไปบ้างเหมือนกัน ในปัจจุบันมีแฟรนไชส์บางเจ้าประกาศไม่เก็บค่าสิทธิ และถือเป็นจุดขายสำคัญ แต่ก็จะไม่มีรายได้ไปบริหารระบบสนับสนุนทางแฟรนไชส์ซีได้

ค่าสิทธิ (Royalty Fee)

    แฟรนไชส์ซอร์ต้องคิดไว้ก่อนว่าว่าแฟรนไชส์ซีจะรองรับการลงทุนในราคานี้ได้หรือไม่ ยิ่งราคาสูงแรงจูงใจให้คนมาลงทุนก็น้อยลง แต่ถ้าตํ่าเกินไปคนแห่เข้ามาเป็นแฟรนไชส์ซีมาก แต่เงินที่ได้ไม่พอใช้จ่ายให้ระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซี จะเป็นปัญหาตามมาทีหลัง

โดยส่วนมากอัตราค่าสิทธิในธุรกิจค้าปลีกมักจะอยู่ที่ 5-10% ของยอดขายรายเดือน และ 8-10% ในธุรกิจบริการ เป็นตัวเลขที่ให้เห็นเป็นแนวทาง แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามนี้เสมอไป

ส่วนใหญ่การเก็บค่าสิทธิ์ จะเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย ถ้าแฟรนไชส์ซีขายดี ค่าสิทธิ์ก็เยอะ ถ้าขายไม่ดี ค่าสิทธิ์ก็หดตามไปด้วย โดยวิธีนี้แฟรนไชส์ซอร์อาจจะมีปัญหา ที่ต้องคอยตรวจสอบยอดขายของแฟรนไชส์ซี ระบบควบคุมยอดขายเป็นระบบที่จำเป็น เพราะไม่ใช่แค่กระทบยอดค่าสิทธิ์ของแฟรนไชส์ซอร์เท่านั้น แต่ถ้าไม่มีระบบตรวจสอบควบคุมยอดขาย ก็จะกลายเป็นช่องทางให้พนักงานในร้านของแฟรนไชส์ซี ทุจริตเงินยอดขายไปได้

บางแฟรนไชส์ก็เลือกที่จะไม่เก็บเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย แต่ไปเก็บแบบเหมาจ่าย ซึ่งในแต่ละงวดต้องจ่ายค่าสิทธิ์เท่านั้นเท่านี้ เช่น เดือนละ 5,000 บาท หรือปีละ 40,000 บาท เป็นต้น ซึ่งรูปแบบนี้ทางแฟรนไชส์ซอร์ก็ไม่ต้องมาวุ่นวายกับการตรวจสอบยอดขายของแฟรนไชส์ซี

ค่าการตลาด (Marketing and Advertisement Fee)

   ค่าการตลาดเป็นค่าสิทธิ์อีกอย่าง ที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายต่อเนื่องให้กับแฟรนไชส์ซอร์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ลูกค้ารู้จักตราสินค้า เป็นเรื่องสำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์ ที่ทำให้แฟรนไชส์ซีสนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์

ยกตัวอย่าง 7-Eleven สาขาแฟรนไชส์ซีต่างๆ จะต้องจ่ายค่าการตลาดให้กับบริษัท ซีพีออลล์ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จักว่า สาขาแฟรนไชส์แต่ละแห่งมีอะไรใหม่ๆ หรือลดราคา จัดโปรโมชั่นอะไรบ้าง โดยโฆษณาออกไปจากส่วนกลางทางสื่อต่างๆ ให้ลูกค้ารับรู้กันทั้งประเทศ ส่วนทางแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่เพียงแค่ขายอย่างเดียว

เงื่อนไขการให้จ่ายค่าสิทธิ์ต่อเนื่อง ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นเหตุให้ทะเลาะกันได้ง่าย โดยเฉพาะตอนยอดขายตก เจ้าของแฟรนไชส์จึงควรเขียนให้ชัดในสัญญา และอธิบายถึงที่มาที่ไปให้ชัด จะได้ไม่มาเข้าใจผิดกันทีหลัง ที่สำคัญต้องทำให้แฟรนไชส์ซีเห็นถึงประโยชน์ จากระบบสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ให้ได้ ถึงจะทำให้แฟรนไชส์ซีอยากควักเงินจ่าย

อยากเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ของตัวเอง
พร้อมดำเนินธุรกิจอย่างมีกำไร 

ติดต่อเรา
โทร. 091-752-2257, 064-743-0030
Line : @silacorp.168
Facebook : silacorp.168

SILA รับออกแบบธุรกิจแฟรนไชส์

บริษัทเราเป็นเจ้าแรก และเจ้าเดียวในไทย ที่ช่วยลูกค้าเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์แบบครบจบ เริ่มตั้งแต่ วางแผน คำนวณต้นทุน วางรูปแบบชุดเซต รวมถึงทำภาพสื่อโฆษณาเพื่อไว้ใช้สำหรับการขายแฟรนไชส์ พร้อมออกแบบ และจัดสร้าง จัดส่ง

บริการของเรา

• บริการสร้างร้านต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์
• บริการวางระบบแฟรนไชส์
• บริการออกแบบร้านและโลโก้
• บริการการตลาดแฟรนไชส์
• บริการจดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า จดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า

ติดต่อเรา

269/456 ถ.ราษฎร์พัฒนา เขต/สะพานสูง กรุงเทพฯ 10240

โทร : 091 752 2257, 064 743 0030
Email : silacorp.thailand@gmail.com
Facebook: silacorp.168
Line: @silacorp.168